แหล่งรวม สมุนไพรดีๆ ของไทย และเทศ

ตำรับยาโบราณ

ตำรับยาแผนโบราณ

ผู้เป็นหมอจะต้องรู้จักตัวยา 4 ประการ ซึ่งโบราณาจารย์ได้ใช้เป็นหล็กใการพิจารณา เพื่อให้รู้จักตัวยาต่างๆ ได้ถูกต้อง การรู้จักตัวยา 4 ประการนี้เป็นวิธการดูและจำแนกตัวยา ว่าตัวยาชนิดนั้นๆเป็นเครื่องยาชนิดเดียวกันกับที่แสดงไว้ในตำรับยา หรือตรงตามตัวยาที่ต้องการหรือไม่ โดยพิจารณาตามหลัก 4 ประการนี้
  • 1. รู้จักรูปลักษณะ ว่าตัวยานั้นๆ มีรูปลักษณะ เช่น ในพืชวัตถุ รู้ว่าเป็น ต้น ใบ ดอก แก่น กระพี้ ฝัก เนื้อ ผลยาง ฯลฯ
    ในสัตว์วัตถุ รู้ว่าเป็น หัว หนัง นอ ดี กราม กรวด กระดูก เลือด ฟัน ฯลฯ
    ในธาตุวัตถุ รู้ว่าเป็น บัลลังก์ศิลา เกลือสมุทร กำมะถันแดง ทองคำ ฯลฯ
  • 2. รู้จักสี รู้ว่าตัวยานั้นมีสีเป็นอย่างไร เช่น แก่นฝางเสน มีสีส้ม ผักแพวแดงมีสีแดง กระดองปลาหมึกมีสีขาว งาช้าง มีสีขาว จุนสี มีสีน้ำเงิน
  • 3. รู้จักรส รู้ว่าตัวยานั้นๆ มีรสเป็นอย่างไร เช่นอย่างที่โบราณาจารย์นำมาจัไว้เป็นหมวดหมู่
  • 4. เภสัชกรรม ต้องรู้จักการปรุงยา ตามวิธีกรรมแผนโบราณ ตลอดจนรู้จักมาตราชั่งตวง ของไทยและสากล
  • ยาหอม

    ตำรับยาโบราณไทยแท้ บรรเทาโรคหัวใจ ถึงชิ้นชีวิตได้ การที่จะระงับอาการที่เกิดจากลม เช่น หทัยวาตะ นี้ยารสสุขม คือยารสไม่ร้อนและไม่เย็นเกินไป รสออกกลางๆ ประมาณนี้ มีกลิ่นหอม ตำรับที่เข้าด้วยสมุนไพรจำพวกดอกไม้ต่างๆ และเครื่องเทศที่มีคุณสรรพคุณที่ไม่ร้อน เช่น อบเชย หรือยาที่เข้าโกฐเทียน ต่างๆ กฤษณา กระลำพัก ขอนดอก ชลูด พิมเสน เปลือกส้มๆ เป็นต้น
    สมุนไพรเหล่านี้ เมื่อรวมเข้าเป็นตำรับแล้ว เรียกว่ายาหอม ในคำภีร์แพทย์แผนไทยโบราณ กล่าวถึงยาหอมที่มีชือเสียงเก่าแก่ไว้หลายสิบตำรับ ซึ่งแล้วแต่มีชื่อเสียงไพเราะเพาะพริ้ง ได้แก่...
    * ยาหอมจิตรารรมณ์ * ยาหอมพรมอุทิศ * ยาหอมกล่อมอารมณ์ * ยาหอมประทุมผล ซึ่งแก้ลมครีโทษอันบังเกิดในหทัยวัตถุ ( หัวใจ )
    คือ แก้หัวใจวายนั้นเอง นอกนั้นก็มียาหอมที่ช่วยบำรุงหัวใจ แก้อาการฟุ้งช่าน กระสับกระส่ายนอนไม่หลับแก้ลมวิงเวียน หน้ามืดตาลายคล้ายหรือเป็นลม เช่น
  • ยาหอมเทพจิต
  • ยาหอมทิพโอสถ
  • ยาหอมอินทจักร์
  • ยาหอมนวโกฐ
  • ยาหอมเบญจโกฐ
  • ยาหอมนารายณ์รักษา
  • ยาหอมอาลัย
  • ยาหอมชูชีพ
  • ยาหอมแท่งทอง
  • ยาหอมชื่นอารมณ์
  • ยาหอมอารมณ์สำราญ
  • ยาหอมเทพบรรทม
  • ยาหอมเรณู
  • ยาหอมครอบจักรวาล
  • เป็นต้น
    ยาหอมแต่ละตำรับ เข้าตัวยานับสิบชนิด บางชนิดอาจเป็นยารสเผ็ดร้อนก็ได้ เข้าด้วย ขิง ข่า ดีปลี พริกไทย แต่เมื่อเข้าเป็นตำรับแล้ว จะประด้วยตัวยาที่มีรสสุขุมมากกว่า และเป็นตำรับยาที่มีกลิ่นหอมเย็นใจ.

    0 ความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น