แหล่งรวม สมุนไพรดีๆ ของไทย และเทศ

Ginger

คนไทยวันนี้เปลี่ยนไปเยอะจากที่ผ่านมา 5-7 ปี ย้อนไปแต่ครั้งที่เศษฐกิจค่อนข้างดี กฎระเบียบทั่วไป ก็ไม่ตึงเหมือนสมัยนี้ เมื่อก่อนตอนเย็นเรากลับจากที่ทำงานจะเห็นร้านขายของมึนเมา แทบทุกร้านมีผู้คนใช้บริการกันมาก จะด้วยเหตุนำเสนอจากน้องสาว น้องแก่ หรือของแกล้มอร่อยก็ตาม ข้างทางหรือร้านใหญ่ ร้านเล็ก เป็นที่โปรดปรานแวะเม้าท์มอยกันเป็นกลุ่มๆ หยุคนี้สมัยนี้กฎระเบียบตึง หลายร้านก็แทบอยูไม่ได้ ท้ายที่สุดก็หยุดไป ที่ผมเขียนมานี้ ไม่ใช้ผมส่งเสริมนะครับ ผมนะเลิกเหล้าเด็ดขาด มากกว่า 3 ปีแล้ว ด้วยเหตุที่ว่านิสัยผมมันพูดไม่หยุด ที่สุดความลับไม่ลับ มันไหลออกมาหมด (สรุปคือพูดเพ้อเจ้อนั่นหละ ) จริงส่วนหนึ่งครับ ก็เป็นไปตามเศษฐกิจบ้านเมืองครับ ของไม่จำเป็นประโยชน์น้อย อีกอย่างของพวกนั้นราคาไม่เหมือนเดิมเพิ่มตามภาษี เรารายได้น้อยก็เลิกเป็นเหตุผลครับ แล้วหันมาดื่มของที่ดีต่อสุขภาพแทน และราคาถูก หรือไม่ก็ไม่ต้องจ่ายสักบาทก็ได้หาได้ตามครัวแม่บ้าน หรือสวนหลังบ้าน ผมนะทึ่งกับความพิเศษ ของเจ้าสมุนไพรตัวนี้มากๆเลยครับ พืชสมุนไพรใกล้บ้านที่รู้จักกัน ขิง ส่วนตัวผมชอบดื่มน้ำขิงร้อนๆ ด้วยรสชาดที่เผ็ดร้อน ดื่มเหมือนจิบกาแฟ จะดื่มแบบโบกบากไม่ได้ครับ จะทำให้สะอึกเอา ดื่มตอนเช้าก่อนกาแฟ หรือก่อนนอนก็ดีครับ ดีท็อกดีนัก ไหลผ่านลำคอรู้เลยมันวิ่งไปไหน ผมเป็นคนที่ไม่ชอบน้ำตาล น้ำขิงจัดจ้านร้อนจัดจึงเหมาะสมดี ที่สำคัญมันขับปัสสาวะดีเหลือเกิน ไม่แพ้กาแฟที่มีคุณสมบัตินี้ด้วย ส่วนอื่นๆที่เป็นทางการอ่านตามด้านล่างเลยครับ.
ส่วนท่านไดโปรดขิงดอง ก็เน้นกำวิธีดองด้วยนะครับ ที่นะนำดองขิงในน้ำส้มสายชูหมักจากพืชนะครับ ดีต่อร่างกายกว่าแบบกลั่น หรือนิยมแบบสดๆ ก็ตามสะดวกครับ

ขิง

ขิงชอบขึ้นในที่ชื้นมีการระบายน้ำดี เหง้าใต้ดิน เปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีนวลมีกลิ่นหอมเฉพาะ แทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอ ขิงมีอยู่หลายชื่อ ตามแต่ละถิ่น ได้แก่ ขิงแกลง, ขิงแดง (จันทบุรี), ขิงเผือก (เชียงใหม่), สะเอ (แม่ฮ่องสอน)[1]), ขิงบ้าน, ขิงแครง, ขิงป่า, ขิงเขา, ขิงดอกเดียว (ภาคกลาง), เกีย (จีนแต้จิ๋ว)

ขิง สรรพคุณ

ขิงยังมีสารอาหารที่มีคุณค่าต่อร่างกาย คือ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม วิตามินเอและอีกมากมาย ขิงมีฤทธิ์อุ่น ช่วยขับเหงื่อ ไล่ความเย็น ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยให้เจริญอาหาร และทำให้ร่างกายอบอุ่น ในทางยานิยมใช้ขิงแก่ เพราะขิงยิ่งแก่จะยิ่งเผ็ดร้อนและมีใยอาหารมาก นำเหง้าสดย่างไฟให้สุก ตำผสมกับน้ำปูนใสคั้นเอาแต่น้ำดื่ม หรือนำเหง้าสดหมกไฟรับประทานเมื่อมีอาการเบื่ออาหาร
  • เหง้าขิง : รสหวานเผ็ดร้อน ขับลม แก้ท้องอืด จุกเสียด แน่นเฟ้อ คลื่นไส้อาเจียน แก้หอบไอ ขับเสมหะ แก้บิด เจริญอากาศธาตุ สารสำคัญในน้ำมันหอมระเหย จะออกฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ ใช้เหง้าแก่ทุบหรือบดเป็นผง ชงน้ำดื่ม แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้จุกเสียด แน่นเฟ้อ เหง้าสด ตำคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำมะนาว เติมเกลือเล็กน้อย จิบแก้ไอ ขับเสมหะ [2]
  • ต้นขิง : รสเผ็ดร้อน ขับลมให้ผายเรอ แก้จุกเสียด แก้ท้องร่วง
  • ใบขิง : รสเผ็ดร้อน บำรุงกำเดา แก้ฟกช้ำ แก้นิ่ว แก้ขัดปัสสาวะ แก้โรคตา ฆ่าพยาธิ
  • ดอกขิง : รสเผ็ดร้อน แก้โรคประสาทซึ่งทำให้ใจขุ่นมัว ช่วยย่อยอาหาร แก้ขัดปัสสาวะ
  • รากขิง : รสหวานเผ็ดร้อนขม แก้แน่น เจริญอาหาร แก้ลม แก้เสมหะ แก้บิด
  • ผลขิง : รสหวานเผ็ด บำรุงน้ำนม แก้ไข้ แก้คอแห้ง เจ็บคอ แก้ตาฟาง เป็นยาอายุวัฒนะ(วัด-ถะ-นะ)
  • แก่นขิง : ฝนทำยาแก้คัน
  • สารเคมีและสารอาหารที่สำคัญ ในขิง
    ในเหง้าขิงมี น้ำมันหอมระเหยอยู่ประมาณ 1 - 3 % ขึ้นอยู่กับวิธีปลูกและช่วงการเก็บรักษา ในน้ำมันประกอบด้วยสารเคมี ที่สำคัญคือ ซิงจิเบอรีน (Zingiberene) , ซิงจิเบอรอล (Zingiberol) , ไบซาโบลี (bisabolene) และแคมฟีน (camphene) มีน้ำมัน (oleo - resin) ในปริมาณสูง เป็นส่วนที่ทำให้ขิงมีกลิ่นฉุน และมีรสเผ็ด ส่วนประกอบสำคัญ ในน้ำมันซัน ได้แก่ จินเจอรอล (gingerol) , โวกาออล (shogaol) , ซิงเจอโรน (zingerine) มีคุณสมบัติเป็นยากัดบูด กันหืน ใช้ใส่ในน้ำมันหรือไขมัน เพื่อป้องกันการบูดหืน สารที่ทำให้ขิงมีคุณสมบัติเป็นยากันบูด กันหืนได้คือ สารจำพวกฟีนนอลิค
    อ่านเพิ่มเติม... ขิง

    0 ความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น