คำมอกน้อย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gardenia sootepensis Hutchวงศ์ RUBIACEAE
ชื่ออื่น : กระบอก, ไข่เน่า, คมขวาน, พญาผ่าด้าม, พุดนา, ฝรั่งโคก, มอก, สีดาโคก ลักษณะ ต้นคำมอกน้อย -คำมอกหลวง เป็นไม้ยืนต้น ขนาดปานกลาง ปลูกเป็นไม้ปะดับโชว์พุ่ม สูงราว 2-10 เมคร ลำต้นคดงอ ทรงพุ่มโปร่ง ผลัดใบ ยอดอ่อนมีชันเหนียว ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามเป็นคู่ สลับตั้งฉาก รูปไข่กลับหรือ รูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน กว้าง 2.5-5ซม.ยาว4.5-10ซม.ปลายมนหรือกลมโคนรูปลิ่มขอบเรียบแผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ใบอ่อนมีขนประปราย ใบแก่ผิวหยาบและเกลี้ยงทั้งสองด้าน เส้นแขนงใบข้างละ 10-15 เส้น ก้านใบสั้นมากหรือไม่มีก้านใบ หูใบระหว่างก้านใบเชื่อมติดกับโคนก้าน ใบร่วงง่าย
คำมอกน้อย - หลวง
เป็นดอกเดี่ยว ออกที่ปลายกิ่ง ดอกคำมอกน้อยมีกลิ่นหอม ก้านดอกสั้นกลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดรูประฆัง มีขนประปราย ปลายแยกเป็น 5 แฉกสั้นมาก กลีบดอกสีขาวเปลี่ยนเป็นดอกสีเหลือง โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแยกเป็น 5 แฉก รูปขอบขนานแกมรูปใบหอกกลับปลายมน เกสรเพศผู้ 5 อัน ติดอยู่บริเวณคอหลอดกลีบดอก ไม่โผล่พ้นปากหลอดอับเรณูรูปขอบขนาน รังไข่อยู่ใต้วงกลีบมีขน มี 1 ช่อง มีออวุลจำนวนมาก ก้านเกสรเพศเมียหนา ยอดเกสรเพศเมียเป็น 2 แฉก รูปกระบองโผล่พ้นหลอดกลีบดอกผลคำมอกหลวง-น้อย
ผลเป็นผลสดมีเนื้อ ลักษณะของผลเป็นรูปทรงรี รูปไข่ รูปกระสวยแกมรูปไข่กลับ หรือเป็นรูปขอบขนาน ผลมีติ่งที่ปลายและสันตื้น ๆ ประมาณ 5-6 สัน ผลเป็นสีเขียวเข้ม เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีดำ ที่ผิวมีปุ่มหูดกับช่องอากาศ ผลมีขนาดกว้างประมาณ 1.8-2.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 2.2-4 เซนติเมตร ภายในผลมีเนื้อและเมล็ดจำนวนมาก การกระจายพันธุ์ พบได้ตั้งแต่ประเทศพม่า ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา และ คาบสมุทรมลายู สำหรับในประเทศไทยพบได้ทุกภาค โดยนิเวศวิทยาของคำมอกน้อยคือ จะพบคำมอกน้อยได้ทั่วไปตามป่าเต็งรัง ความสูงจากระดับน้ำทะเล 100-300 ม. คำมอกน้อย ออกดอก ระหว่าง เดือน มกราคม-มีนาคม และเป็นผล ระหว่าง เดือน มีนาคม- สิงหาคมสรรพคุณของคำมอกหลวง
แก่นนำไปใช้ปรุงเป็นยารักษาโรคเบาหวาน (ผลคำมอกด้านในมีเมล็ดเล็ก๙ึ่งให้สรรพคุณทางยา)เนื้อไม้ใช้เข้ายากับโมกเตี้ยและสามพันเตี้ย ใช้ต้มกับน้ำเป็นยาดื่มแก้บิดและถ่ายเป็นมูกเลือด (เนื้อไม้
แก่นคำมอกหลวงใช้ผสมกับแก่นมะพอก นำมาต้มรวมกันให้หญิงอยู่ไฟใช้อาบและสระผม
เมล็ดคำมอกหลวงนำมาต้มเคี่ยวกับน้ำใช้ผสมเป็นยาฆ่าเหา
เมล็ดด้านในของผลคำมอกเคี้ยวกินสด ( ยังไม่ได้รับการวิจัยยืนยัน ว่าเป็นยาเสริมสมรรภาพทางเพศ )
ประโยชน์ของคำมอกหลวง
ต้นคำมอกหลวงเป็นไม้ทนแล้ง เหมาะที่จะปลูกเพื่อให้ร่มเงาได้ อีกทั้งยังใช้ปลูกเป็นไม้ประดับได้ดี เพราะดอกมีสีสันสวยงามและมีกลิ่นหอมมาก โดยจะออกดอกพร้อมกันทั้งต้น และดอกจะบานประมาณ 2-3 วัน ดอกสามารถส่งกลิ่นหอมได้ยาวนาน แม้ดอกร่วงแล้วแต่ก็ยังส่งกลิ่นหอมดอกใช้สำหรับถวายพระ (คนเมือง)
สมัยก่อนจะนิยมใช้ผลนำไปสระผม
เนื้อในเมล็ดแก่ใช้รับประทานได้ (ชาวม้ง)
ยางเหนียวจากยอดสามารถนำมาขยี้จนเป็นก้อน ๆ แล้วนำไปใส่ในร่องระหว่างโคนมีดกับด้าม จะช่วยทำให้มีดแน่นติดกับด้ามมีดมากขึ้น
เนื้อไม้สามารถนำมาใช้ในงานก่อสร้างและงานแกะสลักได้
Tag :คํามอกน้อย,คำมอกหลวง ผลัดใบ,ต้นคํามอกหลวง ราคา,ต้นคํามอกหลวง pantip,วิธี เพาะ เมล็ด คำ ม อก หลวง,พุดภูเก็ต คํามอกหลวง,วิธี ปลูก คำ ม อก หลวง,ต้น คำ พม่า, กระบอก, ไข่เน่า, คมขวาน, พญาผ่าด้าม, พุดนา, ฝรั่งโคก, มอก, สีดาโคก,ผาด้าม
Rerated : ตำรับยาแผนโบราณ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น